วันที่ 10 ก.พ 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเหนือล้านนามีความเชื่อว่าเดือน 5 ช่วงกุมภาพันธ์ เป็นเดือนมงคล ซึ่งเป็นเดือนที่จะมีการจัดงานพิธีประเพณี งานมงคลทั้งงานวัด การทำบุญขึ้นบ้านใหม่งานมงคลสมรส และงานอื่นๆ โดยทุกงานจะมีส้มป่อยไม้มงคล ศักดิ์สิทธิ์ นำมาประกอบพิธี คือผลไม้ส้มป่อย หรือเรียกว่าส้มป่อย ที่คนภาคเหนือจะนำแช่น้ำ ในบาตรหรือขันธ์ ผ่านพิธีกรรมปลุกเสก ทำเป็น น้ำพระพุทธมนต์ ใช้ประพรหม รด อาบ ตลอดจนนำไปไล่ผีสางนางไม้ ตลอดจนพกติดตัวและ เก็บไว้ในอาคาร บ้านเรือน เพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลสัมภเวสีและเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเองและคนในครอบครัว
สำหรับผลส้มป่อยหรือส้มป่อย มักจะนิยมเก็บในเดือน 5 เท่านั้น เพราะมีพุทธคุณสำหรับเดือนอื่นจะไม่เก็บและ 1 ปีส้มป่อยจะออกมาในช่วงเดือน 5 หรือ 1 ปีจะมีเพียง 1 ครั้ง นับว่าส้มป่อย มีความสำคัญกับชาวล้านนา มาตั้งแต่โบราณมากาลจนถึงปัจจุบัน โดยต้นส้มป่อยจะมีประโยชน์ ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว มาประกอบอาหารใส่แกงผัก ต้ม ยำ ได้หลายอย่าง และผลส้มป่อยยังมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว ตามความเชื่อหากได้ผ่านพิธีปลุกเสกก็จะมีพุทธคุณเพิ่มมากขึ้นอีก รวมทั้งเป็นศิริมงคลแคล้วคลาดปลอดภัยแก่ปู้ครอบครองด้วย
สำหรับส้มป่อยที่ จะเก็บไว้ใช้ต้องเป็นส้มป่อยเดือนห้า โดยจะเลือกเอาฝังตรงสวยงาม ที่มีข้อฝักตั้งแต่ 3 5 7 9 ข้อในฝักเดียว เก็บไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลและหายาก ส้มป่อยเดือนห้า หลังจากออกผลหรือฝัก เจ้าของจะเก็บ ขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า มารับซื้อมาจากชาวสวนแล้วนำมาวางขายตามงานวัดหรืองานบุญต่างๆทั่วภาคเหนือ โดยขายฝักดิบ กก.ละ50-80 บาท และส้มป่อยที่ตากแห้งแล้วจะแพงราคากก.100-300บาท โดยจะมีชาวบ้านซื้อนำไปเก็บไว้เพื่อใช้ในการประกอบพิธีงานต่างๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ตามความเชื่อเพราะส้มป่อยเป็นไม้ผลมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเอง