ปฏิบัติการบังคับใช้ ม.25 พรบ.ป่าสงวนฯ ในพื้นที่นายทุน บุกรุกม่อนแจ่ม”คว้าน้ำเหลวถูกกลุ่มเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 12 หมู่บ้าน เข้ามายืนหนังสือ คัดค้านการรื้อถอนดังกล่าว สุดท้ายเจ้าหน้าที่ต้องถอยกำลังกลับ เหตุการณ์ปกติ
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ โครงการหลวงหนองหอย ต.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภายใต้การอำนวนการของนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นายประสงค์ หล้าอ่อน ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ สั่งการให้นายหมวดตรีนาขวัญ อนันชัย ผู้บังคับกองร้อยกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 1 นำกำลังสมาชิก อส.ร้อย อส.จ.เชียงใหม่ ที่ 1 และ ชป.พิเศษฝ่ายปกครองจังหวัดเชียงใหม่(ฉก.เสือดำ) ร่วมกับ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม ตำรวจภูธภาค 5 (หน่วยปฏิบัติการพิเศษจังหวัดเชียงใหม่) สภ.แม่ริม ทศจ.ชม. กอ.รมน.จ.ชม. และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) รวมประมาณ 300 คน เพื่อเข้ารือถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกลำที่ป่าไม้ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ป่าแม่ริม โดยผิดกฎหมาย ตามที่กรมป่าไม้ อนุมัติให้รือถอน จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม่อนดูดาว ม่อนดาวเรือง ม่อนแสงระวี หลังสวนโฮมส์เตย์ ม่อนเหนือแคมป์ปิ้ง ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมีเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 12 หมู่บ้าน เข้ามายืนหนังสือ คัดค้านการรื้อถอนดังกล่าว
ผลการปฏิบัติ ไม่สามารถเจรจาตกลงขอรื้อถอนได้ มีมวลชนของขาวบ้านในพื้นที่ และต่างพื้นที่จากเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 12 หมู่บ้าน นำยางรถยนต์และมวลชนมาล้อมเจ้าหน้าที่บริเวณทางเข้าม่อนแสงดาว เจ้าหน้าที่ได้เข้าเจราจาต่อรอง จนกระทั่งเวลา 11.30 น.การเจรจาไม่เป็นผล กลุ่มมวลชนม่อนแจ่มประมาณ 500 กว่าคน ไม่ให้เข้าพื้นที่ การเจราจาไม่ได้ผล
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) กรมป่าไม้ ได้เริ่มเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เรียกว่าม่อนแจ่มอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยดำเนินการภายใต้นโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ติดตามการแก้ไขปัญหาพื้นที่ม่อนแจ่มอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้มีแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ม่อนแจ่มให้เป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่ม่อนแจ่มเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผู้ประกอบการที่ไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขของกฎหมายและทำกิจการที่ไม่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องมีการรื้อถอนปรับสภาพพื้นที่และเร่งฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์โดยเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาระยาวไม่ให้เกิดน้ำท่วม น้ำแล้ง รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะและปัญหาภัยพิบัติ อาทิเช่น ดินสไลด์ โคลนถล่ม เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) ยังเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ให้ประชาชนอยู่กับภาครัฐได้อย่างเกื้อกูลกัน และให้มีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยให้นำหลักการทางวิชาการที่สามารถอ้างอิงได้มาแก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้มีการทำการเกษตรตามแนวทางของโครงการหลวง และตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้หรือศูนย์ฝึกอบรม และยึดถือกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการตรวจสอบสถานประกอบการในพื้นที่ที่เรียกว่าม่อนแจ่มและบริเวณใกล้เคียง พบว่ามีสถานประกอบการทั้งหมด จำนวน 122 ราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 122 ราย พบว่า บางรายซื้อขายเปลี่ยนการครอบครองจากรายเดิมไปสู่นายทุนหรือบุคคลนอกพื้นที่ประกอบกิจการในลักษณะนอมีนี และบางรายมีการบุกรุกพื้นที่ป่าใหม่ขยายแผ้วถางพื้นที่จากพื้นที่ทำกินเดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) จึงได้ดำเนินคดีอาญาไปแล้วทั้งสิ้น 36 ราย และศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาแล้ว 4 คดี ว่าจำเลยมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และบางรายมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการโรงแรม โดยทั้ง 36 รายดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) ได้ใช้อำนาจตามาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ และได้ทำการรื้อถอนแล้ว จำนวน 10 ราย สำหรับ 86 ราย อยู่ระหว่างตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งในวันนี้ วันที่ 29 สิงหาคม 2565 นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) ได้สั่งการให้นายมนตรี ปลูกปัญญา ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า นายสัมพันธ์ พุฒด้วง ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 3 (ภาคเหนือ) กรมป่าไม้ บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองอำเภอแม่ริม เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปทส. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรแม่ริม เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ตชด.33 เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กอ.รมน.ชม. กองร้อยอาสาสมัครจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ (DSI) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมดำเนินการรื้อถอนและเป็นสักขีพยานในการดำเนินการรื้อถอนสถานประกอบการ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 จำนวน 5 ราย ดังกล่าว
ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าดำเนินการได้เนื่องจากมีราษฎรในพื้นที่ได้รวมตัวกัน ประมาณกว่า 500 คน ขัดขวางมิให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการการรื้อถอนสถานประกอบการทั้ง 5 ราย ดังกล่าว และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระงับการรื้อถอนเพื่อรอคำพิพากษาของศาล โดยคณะเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ผู้ชุมนุมทราบ แต่ผู้ชุมนุมยังคงยืนยันตามที่เรียกร้อง คณะเจ้าหน้าที่ได้ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าหากดำเนินการต่อไปอาจเกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ จึงได้ยุหาติการดำเนินการไว้เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ ต่อไป
นิวัตร ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่