พะเยา ชาวบ้านคะแนงพบฟอสซิลหอยสองฝาอายุกว่า 200 ล้านปี ต้นน้ำลาว

 

นักวิจัยสำรวจพื่อศึกษาข้อมูลความสำคัญของต้นแม่น้ำลาวที่มีต่อชุมชนรวมถึงความหลากหลายของระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิต พบ ฟอสซิลหอยสองฝา สกุล Daonella อายุมากกว่า 200 ล้านปี มีคุณค่าทางธรณีวิทยาค่อนข้างสูง

วันที่ 3 พ.ค 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตร่วมกับชุมชนบ้านคะแนงหมู่ 10 ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้ลงพื้นที่ทำการสำรวจงานวิจัยลักษณะงานวิจัยชาวบ้านคะแนง ได้พบฟอสซิลหอย ในก้อนหินที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลาว และได้นำตัวอย่างส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาตรวจสอบพบว่าเป็น ฟอสซิลหอยสองฝา สกุล Daonella อายุกว่า 200 ล้านปี ในพื้นที่ต้นน้ำลาว

 

ดร.รัตนาภรณ์ ฟองเงิน อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการสำรวจดูหินในลำห้วยแม่ลาว พบหินอยู่ 3 ชนิดหินที่พบเยอะที่สุดคือหินตะกอนภูเขาไฟหรือหินทราย ลักษณะออกสีเขียวๆ เนื้อแข็งมากพวกนี้คือมีคุณค่าคือมีซากฟอสซิล ซากหอย จัดอยู่ในหมวดหินฮ่องหอย(Hong Hoi Formation) กลุ่มหินลำปาง Lampang Group จากที่ดูเป็นหอยสองฝา สกุล Daonella สามารถบอกช่วงอายุได้คือประมาณ 200 ล้านปี

 

ชนิดที่สองเป็นหินตะกอนภูเขาไฟสีแดง ที่เกิดบนทวีป และชนิดที่สามคือหินปูนที่อยู่บนภูเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูลังกา หินปูนอย่างที่ชาวบ้านบอกกันมาว่าเป็นห้วยที่ไหลลงมาจากช่องหินปูน สุดห้วยเป็นตาน้ำผุดออกมา เป็นระบบน้ำผุดออกมาจากใต้ผิวดินกลายมาเป็นลำห้วยสาขาที่มาลงแม่น้ำลาวมีคุณค่าคือเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารนี่คือหินภาพรวมของต้นแม่น้ำลาว นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้พบฟันกรามของช้าง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทาธรณีวิทยา ระบุว่าเป็นฟันกรามของช้าง สายพันธุ์ปัจจุบัน Elephas ด้วย

“ต้นน้ำลาวนอกจากเป็นพื้นที่สำคัญทางธรณีวิทยา จากการพบซากของเปลือกหอยสองฝา พื้นที่แห่งนี้หลายล้านปีเคยเป็นทะเล แผ่นเปลือกโลกได้เคลื่อนตัวจากการระเบิดของภูเขาไฟจากลักษณะหินที่พบจาก2 ใน 3 ชนิด สำหรับหอยสองฝาสกุล Daonella ที่เจอในหินสีเขียว อยู่ในชั้นกรวดในชั้นหินภูเขาน่าจะมีเยอะอยู่พอสมควร เพราะแค่เรานั่งอยู่ตามหาดหินก็เจอได้ง่าย และหอยพวกนี้สามารถบอกช่วงอายุของมันได้แน่นอน เพราะฉะนั้นการพบเจอมันมีคุณค่าทางธรณีวิทยาอยู่แล้ว และ มันมีคุณค่าทางธรณีวิทยาค่อนข้างสูง