ความคืบหน้าล่าสุด ที่ต่อต้านโรงไฟฟ้าชีวมวล ว่าบริษัทฯ ไม่มีการขอตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินว่าด้วยผังเมืองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารก่อสร้างของท้องถิ่น และยังไม่มีการประชาคมหมู่บ้าน พร้อมทำหนังสือแจ้ง ก.ก.พ. เขต 1 จ.เชียงใหม่ เพื่อทบทวนให้ยุติโครงการตามที่ชาวบ้านร้องเรียนแล้ว และมีการถอนรายชื่อสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 123 ราย จาก 202 ราย ทำให้เหลือสมาชิกคงอยู่เพียง 79 ราย
โดยก่อนหน้านี้ นายบุญธรรม วงค์ศร ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ฯ ได้ยื่นหนังสือคำร้อง เรื่องการตรวจสอบการอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ม.1 บ้านสองแควเหนือ ให้แก่ทางเทศบาลตำบลนาแก้ว โดยเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 ทางนายกฤษฎา แสงแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน และการประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่นั้น ทางเทศบาลตำบลนาแก้ว ยังไม่มีการขอตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินว่าด้วยผังเมืองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานรากตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารก่อสร้างของท้องถิ่น และยังไม่มีการประชาคมหมู่บ้านเพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกด้วย ตามหนังสือตอบของเทศบาล ลงวันที่ 31 ม.ค.2565.
ส่วนในวันที่ 9 ก.พ.2565 ทางนายกฤษฎา แสงแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้ทำหนังสือตอบกลับชาวบ้าน กรณีที่ชาวบ้านได้ยื่นหนังสือเรียกร้อง เพื่อพิจารณาทบทวน และคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมแนบเอกสารรายชื่อผู้คัดค้าน ซึ่งทางเทศบาลตอบกลับมาว่า ตามที่ชาวบ้านในพื้นที่ บ้านสองแควเหนือ ม.1 ,บ้านสองแควใต้ ม.2 , บ้านสองแควสันติสุข ม.9 ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ บริษัท ซีวีกรีนลำปาง จำกัด จักได้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล พื้นที่ บ้านสองแควเหนือ ม.1 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา นั้น ทางเทศบาลฯ ได้ทำหนังสือแจ้งทางคณะกรรมการกิจการพลังงาน ก.ก.พ. เขต 1 จ.เชียงใหม่ เพื่อทบทวนให้ยุติโครงการนั้นแล้ว เพื่อพิจารณาถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งก็ต้องรอการตอบจาก ก.ก.พ. เขต 1 จ.เชียงใหม่ อีกครั้ง.
ล่าสุด ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2565 ชาวบ้านที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าชีวมวล บ้านสองแควเหนือ แห่ติดป้ายประท้วงตามรั้ว ตามห้าง ร้าน ตลาด บ้านเรือน และตามถนนในหมู่บ้าน ก็ยังคงมีป้าย “เราไม่เอา โรงไฟฟ้าชีวมวล” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านดังกล่าว และได้รับแจ้งว่ามีการถอนรายชื่อ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 123 ราย จากจำนวนสมาชิก 202 ราย ทำให้เหลือสมาชิกคงอยู่เพียง 79 ราย ซึ่ง ฯ ปัจจุบัน ถ้าหากจะไปยื่นเรื่องกับ ก.ก.พ. ก็อาจจะไม่ผ่าน เพราะสมาชิกไม่ครบ 200 คน.
และอีกประเด็นสำคัญคือ สมาชิกที่ถอนรายชื่อออกจากการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ก็ด้วยทางบริษัทไม่ได้ให้ข้อมูลหรือมีการชี้แจ้งให้ทราบในการทำสัญญาหาเชื้อเพลิงให้แก่บริษัท ต้องมีพันธะสัญญารับตามที่บริษัทชี้แจงในที่ประชุม เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 ทางชาวบ้านและสมาชิกไม่เคยได้ทำสัญญากับบริษัท ทำให้สมาชิกต่างแห่ถอนชื่อออกจำนวนมาก
โดย วันที่ 5 ก.พ.2565 ได้มีผู้ไปลงบันทึกประจำวัน ที่ สภ.เกาะคา เพื่อเป็นตัวแทนจากชาวบ้านร่วม 20 คน ว่ารายชื่อทั้ง 20 คน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว และมีผู้เอาชื่อไปเป็นสมาชิก ซึ่งรายชื่อข้างต้นทั้งหมดได้ลาออกไปแล้ว และไม่ขอรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนแล้ว.
ทั้งนี้ชาวบ้านที่ต่อต้านโรงไฟฟ้า ได้แจ้งว่า ในการขออนุญาต อาจจะขัดต่อ พรบ.ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.ควบคุมอาคาร หรือไม่ เพราะสถานที่ตั้งห่างจากบ้านชาวบ้านไม่ถึง 1กิโลเมตร จึงมีประเด็นสงสัยว่า โครงการโรงไฟฟ้าวิสาหกิจชุมชนฯ ได้ดำเนินการมาโดยถูกต้องสุจริตหรือไม่ จะเป็นปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ และภาระแก่สมาชิกวิสาหกิจฯหรือไม่ ไม่ใช่ได้ประโยชน์เพียงบางคน บางกลุ่ม และชาวบ้านในพื้นที่คัดค้านโครงการ เพราะอาจจะมีการไม่โปร่งใส ไม่ใช่ว่าโครงการไม่ดี แต่เราอยากเห็นท้องถิ่นเจริญก้าวหน้า และมีความมั่นคงยั่งยืนถึงลูกหลาน.