ดร.วรรณวิไล กันเพ็ชร์-หลายภาคส่วนเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อน“ลำปางพุทธนครแห่งความสุข”

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 ณ. ห้องประชุมเขลางค์นคร ศาลากลางจว.ลำปาง  เวลา 13.00 – 15.30 น. หน่วยงานทุกภาคส่วน จำนวน 22 หน่วยงานในจว.ลำปาง  เข้าร่วมประชุมโดยข้อเสนอของดร.วรรณวิไล กันเพ็ชร นายกสมาคมพลังบำบัดไทย และได้รับเกียรติจากรศ.ดร.กำพล ศรีวัฒนกุล ตำแหน่ง ประธานกฎบัตรสุขภาพ เป็นประธานการประชุม  เพี่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ “ลำปางพุทธนครแห่งความสุข” โดยมีรายละเอียดสรุปพอสังเขป ดังนี้

  1. ที่ประชุมทราบความเป็นมาและผลงานเชิงประจักษ์ของดร.วรรณวิไลฯ ที่ได้ดำเนินการใช้ศาสตร์พลังงาน บำบัดอาการป่วยเรื้อรังของประชาชนในจว.ลำปางมากกว่า 400 ราย โดยน้อมนำพลังที่เป็นพลังธรรมชาติมาปรับสมดุลร่างกายของพวกเขาเหล่านั้น ผลการดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธ์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้รับทราบเรื่องเล่าจากผู้ที่เคยได้รับการปรับสมดุลร่างกายจากศาตร์พลังบำบัดมาแล้ว
  2. ที่ประชุมทราบและเข้าใจหลักกาของการดำเนินการโครงการ “ลำปางพุทธนครแห่งความสุข” โดยนำศาสตร์พลังบำบัดไปปรับสมดุลร่างกาย แก่ประชาชนที่มีปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ในจว.ลำปาง โดยคัดเลือกพื้นที่เทศบาลนครลำปางและเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ในการดำเนินการในลำดับแรก
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กำหนดหลักสูตรสร้างบุคลากรที่มีใบประกอบโรคศิลป์ เพื่อศึกษาศาสตร์พลังงาน และสามารถน้อมนำไปสู่การปรับสมดุลให้ผู้เข้ารับบริการได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บุคลากรเหล่านี้จะสามารถปฎิบัติงานที่รองรับกลุ่มชนที่ต้องการมาฟื้นฟูสุขภาพของตน และสำหรับการดูแลประชาชนทั่วไป เบื้องต้นจะคัดสรรจากอสม. แพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านที่มีองค์ความรู้ผ่านการอบรมแล้ว บุคลากรเหล่านี้จะดูแลด้านสุขภาพพื้นฐานทั่วไป

และข้อสรุปที่สำคัญ คือ ประชาชนจว.ลำปางจะได้อะไรจากการดำเนินการโครงการนี้  รศ.ดร.กำพลฯ กล่าวว่า

  1. สิ่งแรกที่จะได้รับคือ เมื่อประชาชนได้ผ่านการอบรมแล้ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลตนเองทางด้านสาธารณสุขได้ดียิ่งขึ้น พร้อมได้นำหลักพุทธศาสนามาพัฒนาจิตใจ ส่งผลให้เกิดความสุขทางใจ เป็นธรรมโอสถ ดังคำกล่าวที่ว่า “หมอที่ดีที่สุด คือ ตัวเราเอง”
  2. บุคลากรที่คัดสรรให้เข้าอบรมศาสตร์พลังงานแล้ว เมื่อจว.ลำปางเป็นที่รู้จักในการขจัดความทุกข์ทางกายได้อย่างประจักษ์ ย่อมเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนที่อื่นๆทั้งในและนอกประเทศเดินทางมาที่ลำปางแน่นอน บุคลากรเหล่านี้ย่อมเป็นที่ต้องการของภาคเอกชนที่พร้อมจะใช้สถานที่ของตนรองรับบุคคลเหล่านั้น ย่อมส่งผลต่อการมีรายได้ที่มั่นคงและเพียงพอ

นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยว รีสอร์ต โรงแรมที่มีความพร้อมในการรองรับในการใช้ศาสตร์พลังบำบัดปรับสมดุลร่างกาย จะมีนักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาอย่างมากมาย ซึ่งจะส่งผลต่อภาพเศรษฐกิจมวลรวมของจว.ลำปางด้วย

3.การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและสถานที่ท่องเที่ยว เช่น กัญชา สมุนไพรที่ขึ้นชื่อต่างๆที่มีการปลูกแพร่หลายในลำปาง สถานที่ในอุทธยานแจ้ซ้อน ที่มีบ่อน้ำพุร้อนทางธรรมชาติอยู่แล้ว หรือในที่อื่นที่มีลักษณะพิเศษแบบแจ้ซ้อนทั้งสองส่วน ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการนำศาสตร์พลังงานมาเป็นส่วนหนึ่งได้อีกด้วย

ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่สุดของการดำเนินโครงการนี้ ก็คือ หากการดำเนินการมีประสิทธิผลที่ดี  ก็จะนำเรียนท่านสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจว.ลำปาง ให้มีการขยายผลต่อยอดไปยังพื้นที่ทั่วจังหวัดลำปาง 

หน่วยงานทุกภาคส่วน มีความเห็นชอบในการทำบันทึกข้อตกลง โดยให้สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจว.ลำปาง  ในฐานะฝ่ายเลขานุการ จัดให้มีการประชุมเพื่อลงนาม MOU และขับเคลื่อนภารกิจตามโครงการต่อไป  ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อ ประชาชนชาวลำปางมีสุขภาพกายและใจที่มีสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น หน่วยงานภาครัฐก็มีพลังและเวลาในการพัฒนาส่วนต่างๆในความรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิด “ลำปางพุทธนครแห่งความสุข”อย่างแท้จริง