สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตนำทีมนักวิจัยลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวะภาพในแม่น้ำกก

 

แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ผ่าน อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย แม่น้ำสายนี้เป็นแหล่งอาหาร และเลี้ยงชีพให้ทั้งคนและสัตว์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีการใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำกกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถดถอยทั้งทางระบบนเวศ และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง การลงพื้นที่สำรวจของกลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นครั้งสำคัญที่จะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศแห่งหนึ่งกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง   สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นำโดย นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นายสายันห์ ข้ามหนึ่ง ผู้ประสานงานสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ดร.สหัทยา วิเศษ นักวิชาการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ วิทยาเขต พะเยา อาจารย์จักรกริช ฉิมนอก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นายวิชา นรังศรี สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย มูลนิธิพื้นที่ป่าชุ่มน้ำไทย คุณศุภาพิชญ์ สงคำ หัวหน้า โครงการพัฒนาเด็ก ซี.ซี.เอฟ. จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยคณะภาคีประชาชนโขงเหนือ ได้ลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในแม่น้ำกก ทั้งเรื่องความสมบูรณ์ของพันธ์ปลา นากน้ำ นก สภาพน้ำ ระบบนิเวศต่างๆในแม่น้ำกก โดยได้ล่องเรือสำรวจตั้งแต่ ท่าเรือบ้านท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ถึงบ้าน ป่ายางมน อ.เมือง จ.เชียงราย

นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา กล่าวว่า ทางสมาคมแม่นำเพื่อชีวิต ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานเรื่องแม่น้ำในประเทศไทย โดยภาระกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ได้กำหนดการทำงานในการศึกษาสำรวจสถานภาพของแม่น้ำที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งก็มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายก็คือแม่น้ำกก และแม่น้ำอิง โดยในแม่น้ำกก เรายังขาดข้อมูลในหลายๆด้าน เช่นข้อมูลทางระบบนิเวศ ข้อมูลในเรื่องของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งแม่น้ำกกในช่วงหลังนี้มีผู้คนพูดถึงน้อยมาก งานสำรวจและงานวิจัยในแม่น้ำกกก็น้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ทั้งที่แม่น้ำกก มีควมสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการสร้างเมืองเชียงราย เป็นแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่ใน เมืองกก จังหวัดเชียงตุง เขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ไหลผ่านประเทศไทยที่บ้านท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ แล้วไหนลงแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มีความยาวตลอดสายน้ำ 285 กิโลเมตร ช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยมีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร ซึ่งในครั้งนี้ก็เป็นการสำรวจขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การสำรวจเชิงลึกในหลายๆ ด้านในอนาคต   นายสายันห์ ข้ามหนึ่ง กล่าวว่า จากที่ได้ล่องเรือมาจากท่าเรือท่าตอน ก็ได้ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ 2 จุดคือบริเวณ สบฝาง และสบงาว ก็ได้พบร้องรอยของนากแม่น้ำ ซึ่งก็ได้เก็บตัวอย่าของมูล เพื่อจะนำไปตรวจในห้องแล็ปหาสายพันธุ์ของนากว่าเป็นนากชนิดไหน โดยการสอบถามจากคนเรือก็พบว่ามีการพบนากในแม่น้ำกกหลายจุด ก็ถือว่าเป็นข้อมูลแรกๆ ที่จะนำมาทำการสำรวจเพราะข้อมูลเรื่องนากในแม่น้ำกก เรายังไม่มี ซึ่งในใจความสำคัญในการสำรวจครั้งนี้เราต้องการสำรวจเรื่องนาก เรื่องนก และความหลากหลายของชนิดพันธ์ปลา โดยเราได้แบ่งกันเก็บข้อมูล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ก็คือการเก็บข้อมูลเรื่องนาก กลุ่มที่ 2 เก็บข้อมูลเรื่องนก และกลุ่มที่ 3 เก็บข้อมูลเรื่องพันธุ์ปลา ซึ่งจะรวบรวมเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพราะที่ผ่านมาเราแทบจะไม่มีข้อมูลของความหลากหลายทางชีวะภาพของแม่น้ำกก และมีคนศึกษาน้อยมาก วัตถประสงค์ของเราในวันนี้ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อจะให้เห็นว่าแม่น้ำกกมีความหลากหลายทางชีวะภาพด้านใดบ้าง

โดยในครั้งนี้เราได้ทำแผนที่ระบบนิเวศด้วย เพราะว่าในแม่น้ำกกมีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เท่าที่ล่องเรือลงมาพบว่ามีระบบนิเวศ 2 แบบด้วยกัน อย่างแรกคือ ระบบนิเวศที่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร มีการปลูกพืชสวนครัวต่างๆ โดยพื้นที่ตลิ่งทั้ง 2 ฝั่งจะค่อนข้างต่ำและเป็นที่ราบลุ่มกว้าง ช่วงที่ 2 ก็จะเป็นระบบนิเวศที่เป็นป่าเขาในน้ำก็จะเห็นเป็นเกาะแก่งที่น้ำไหลเชี่ยวและมีวังน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งก็จะต้องเก็บข้อมูลต่างให้ได้มากที่สุดในครั้งนี้  นายวิชา นรังศรี กล่าวว่า ความคาดหวังการสำรวจในครั้งนี้ คืออยากสำรวจว่ามีความเหมาะสมกับชนิดพันธุ์ปลา กับชนิดพันธุ์นกมากน้อยแค่ไหน โดยที่สำรวจพบสันดอนทราย กลางน้ำ ริมน้ำ โดยที่เห็นกลุ่มนกที่มาอาศัยก็มี นกแอ่นทุ่งเล็ก ซึ่งมีอยู่เป็นกลุ่มประมาณ 60 ตัว นกหัวโตเล็กขาเหลือง ซึ่งคาดว่าจะเป็นนกประจำถึ่นชนิดพันธุ์ย่อยที่เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย ที่ทำรังอยู่ในลักษณะพื้นที่น้ำที่เป็นน้ำไหล ทั้ง 2 ชนิดนี้น่าจะเป็นพันธุ์เด่นที่จะนำข้อมูลมาใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของลำน้ำกก ส่วนนกอพยพที่เห็นก็มี นกอุ้มบาตร ซึ่งมีค่อนข้างเยอะ รวมไปถึงนกชายเลนบางชนิดที่อพยพมาอยู่ริมน้ำจืดได้เช่นนกเด้าดิน ส่วนนกกินปลา พบเห็นอยู่ 2 ชนิดคือนกกระเต็นอกขาว และนกกระเต็นน้อยธรรมดา นอกจากนี้ยังพบนกทุ่งที่หากินตามริมน้ำและพืชสวน ตามสวนริมน้ำ ก็จะเห็นนกกระแตแต้แว้ด และนกกินแมลงจำพวกนกยอดหญ้าหัวดำ ซึ่งจากการสำรวจก็พบนกอยู่ประมาณ 15-16 ชนิด

ด้าน นายวิชัย​ แก้วมหาคุณ อดีตผู้ใหญ่บ้านรวมมิตร กล่าวว่า เมื่อก่อนการเดินเรือในแม่น้ำกกสามารถใช้เรือใหญ่ที่บรรทุกคนได้ 20 คน แต่ปัจจุบันไม่สามารถทำได้แล้วเพราะว่าน้ำกกแห้งขอดลง แม่น้ำก็แคบลงเพราะกิจกรรมในแม่น้ำกกมีมากขึ้นทั้งการทำการเกษตรที่ดูดน้ำไปใช้ การดูดทราย ที่ทำให้เกิดน้ำลึกบริเวณที่ดูดทรายทำให้น้ำไปรวมตัวอยู่บริเวณดังกล่าว การสร้างฝายกันน้ำที่บ้านป่ายางมน อ.เมือง จ.เชียงราย เหล่านี้ทำให้แม่น้ำกกเปลี่ยนแปลงไป เมื่อก่อนแม่น้ำกกมีความอุดมสมบูรณ์มาก ปลากในแม่น้ำโขงเข้ามาวางไข่ มีทั้งปลาบึก และปลาเล็กๆอย่างปลาสร้อยเข้ามาเป็นจำนวนมาก เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนเคยจับปลาบึกได้น้ำหนักสูงถึง 190 กิโลกรัม และตัวเล็กๆอีกจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไม่พบเห็นอีกแล้ว นอกจากนี้ปลาสร้อยที่ชาวบ้านเคยยกยอได้ครั้งหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม ก็ไม่มีแล้วปลาหลายสายพันธ์ได้หายไป ปลาที่เหลือก็มีไม่มากเหมือนก่อน การทำประมงน้ำจืดในแม่น้ำกกจึงลดน้อยลงไป  การลงพื้นที่ของสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และคณะภาคีประชาชนโขงเหนือ ในครั้งนี้จะเป็นการริเริ่มสำรวจทรัพยากร ทั้งระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวะภาพ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการฟื้นฟูแม่น้ำกกโดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคีเครือข่ายนักอนุรักษ์ เพื่อทำให้แม่น้ำกกกลับมาอุดมสมบูณ์อีกครั้ง