วันนี้ 26 ธ.ค.64 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรีรายงานว่าได้รับแจ้งว่ามีชาวบ้านที่ อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรีพบแสงประหลาดลอยบนฟากฟ้าสามารถคลิปเอาไว้ได้ จึงลงพื้นที่พบกับนาย ธวัชชัยนามลาด เลขที่ 400 หมู่2 ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี เป็นผู้พบและถ่ายคลิปภาพดวงไฟประหลาดบนฟากฟ้าไว้นานกว่า 20วินาที นาย ธวัชชัย กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (25ธ.ค.) เมื่อเวลา ประมาณ 07.00 น.เดินออกมานอกบ้าน มองขึ้นบนท้องฟ้า มองเห็นแสงดวงไฟเล็ก ๆ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก ได้ให้ลูกชายออกมาดูและถ่ายภาพเอาไว้ ไม่ทราบว่าแสงนั้นเป็นอะไรแสงเหมือนบอลลูนอยู่ที่เดิมเห็นเป็นเวลานา แล้วก็หายไป”นาย ธวัชชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบข้อมูล จากงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ทราบต่อมาว่า เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 – หลังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ประมาณ 40 นาที กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ก็เดินทางผ่านน่านฟ้าประเทศไทย สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เห็นได้หลายพื้นที่ในประเทศไทย อาทิ เชียงใหม่ น่าน ลำปาง เชียงราย พิจิตร สุโขทัย กรุงเทพ ราชบุรี สระบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ชัยภูมิ เลย ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ยะลา ตรัง ฯลฯ และเนื่องจากเป็นช่วงเวลากลางคืนของประเทศไทย จึงนับเป็นโอกาสดีคนไทยจะได้ร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไปพร้อมกับคนทั้งโลก
ดังนั้นภาพที่นายธวัชชัยเห็นบนฟากฟ้า จึงน่าจะเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Telescope: JWST) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564จึงนับเป็นโอกาสดีคนไทยจะได้ร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไปพร้อมกับคนทั้งโลกในครั้งนี้ สำหรับ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Telescope: JWST) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 19:20 น. ที่ผ่านมา ด้วยจรวด Ariane 5 ณ ฐานปล่อยจรวดในเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนมุ่งหน้าสู่ตำแหน่งสังเกตการณ์ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตร (4 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศลำนี้นับเป็น “เรือธง” สำคัญของ NASA ที่จะมาแทนที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่กำลังจะปลดประจำการ มาพร้อมกับเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง บุกเบิกสู่ยุคใหม่ของวงการดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด สังเกตแสงอันริบหรี่ของกาแล็กซีที่ห่างไกลออกไป เพื่อศึกษากลไกการก่อกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ไปจนถึงการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการศึกษาเอกภพอย่างแท้จริง
หลังจากนี้จะใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ จะปรับวงโคจรเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย และเริ่มปฏิบัติภารกิจต่อไป