วัดพระธาตุลำปางหลวงที่สุดแห่งแหล่งรวมศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนายุคทอง

วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดลำปาง แต่คนลำปาง รวมทั้งคนล้านนาเองก็ยังไม่รู้จักและเห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ว่ามีความสำคัญอย่างไร?
ถ้าจะถามว่า หากจะศึกษาเรียนรู้ศิลปะสถาปัตยกรรมของล้านนายุคแท้ๆนั้น จะไปดูได้ที่ไหน ?
เพราะศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่ยังมีชีวิต(ไม่ใช่โบราณสถานร้าง) ที่เหลืออยู่ในจังหวัดต่างๆทุกวันนี้ ล้วนเป็นศิลปะล้านนายุคหลังมีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ลงมาแล้วเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้เพราะผลของสงครามกับพม่าในช่วงต้น พ.ศ. 2300 ทำให้ล้านนาล่มสลาย เมืองต่างๆในล้านนาทั้งหมดกลายเป็นเมืองร้าง และได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในระยะหลัง
จึงทำให้ศิลปะล้านนาแท้ๆ ก่อนหน้านั้นถูกทิ้งร้างสูญหาย และศิลปะล้านนายุคหลังแตกต่างไปจากเดิม
เนื่องจากพลเมืองล้านนาเป็นคนกลุ่มใหม่
ได้เคยมีการวิจัยเกี่ยวกับวิหารที่มีอายุก่อน พ.ศ. 2400 ในล้านนา พบว่าปัจจุบันมีเหลือเพียง 10 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่เชียงใหม่ 2 แห่ง(พ. 24) และที่ลำปาง 8 แห่ง(พ. 21- 24) ในจำนวน 8 แห่งนี้อยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงถึง 3 แห่ง(ยุคทองล้านนา)
ดังนั้นวัดพระธาตุลำปางหลวงจึงเป็นแหล่งรวมศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา(แท้ๆ)ยุคทองที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่(รวมทั้งอีก 7 แห่งดังกล่าว) นอกจากซากโบราณสถานร้างในเมืองโบราณ เช่น เมืองเชียงแสน เวียงกุมกาม และเวียงท่ากาน ฯลฯ
ทั้งนี้เพราะที่วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ปรากฏมีมรดกล้านนายุคทองอยู่เป็นอันมาก ได้แก่
– วิหารพระพุทธ ถือเป็นวิหารล้านนา(ที่ไม่ใช่วิหารร้าง)ที่เก่าที่สุด สร้างใน พ.ศ. 2019
– วิหารน้ำแต้ม อายุเก่าเป็นที่สอง และมีภาพจิตรกรรม(น้ำแต้ม)ฝาผนังล้านนาที่เก่าแก่อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22
– วิหารหลวง อายุเก่าเป็นอันดับสาม ซึ่งมีซุ้มโขงพระเจ้าล้านทองที่งดงามสมบูรณ์ที่สุด
– ซุ้มประตูโขงวัด สร้างใน พ.ศ. 2019 ถือเป็นซุ้มประตูทางเข้าวัดล้านนาที่มีความสมบูรณ์และลวดลายปูนปั้นที่งดงามที่สุด
– หอธรรมล้านนาที่เก่าที่สุด สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2067
– องค์พระธาตุลำปางหลวง พระเจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ อายุต้นพุทธศตวรรษที่ 21
– พระแก้วดอนเต้า พุทธศิลป์ล้านนาและปูชนียวัตถุสำคัญของล้านนา
– ฯลฯ
คำถาม เหตุใดวัดพระธาตุลำปางหลวงจึงมีความสำคัญและเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมล้านนายุคทอง?
คำตอบมีอยู่ว่า มีประวัติในตำนานกล่าวว่า เดิมทีพระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีอยู่ในพื้นที่นี้มานานแล้ว แต่เรื่องราวที่ชัดเจนทางเอกสารระบุว่า หมื่นหาญแต่ท้อง บุตรของหมื่นโลกนคร(หมื่นด้งนคร) ผู้เมืองนคร(เขลางค์)ใน พ.ศ. 1985 ได้ขอพระบรมราชานุญาตพระเจ้าติโลกราช บูรณะฟื้นฟูและสถาปนาพระธาตุลำปางหลวงขึ้น
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วได้สมโภชใน พ.ศ. ๒๐๒๒ ซึ่งครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราชได้เสด็จมานมัสการพระธาตุและร่วมสมโภชเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน
เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์สายสีหลหรือวัดป่าแดง ซึ่งพระเจ้าติโลกราชให้การสนับสนุน ดังปรากฏรูปแบบเจดีย์ขององค์พระธาตุลำปางหลวง
ดังนั้นด้วยเหตุจึงไม่แปลกใจว่า ในคราวที่พระมหาเทวีพระราชมารดาของพระเจ้าติโลกราชยกกองทัพไปตีเมืองแพร่ ได้เสด็จแวะมานมัสการ และพระเจ้าติโลกราชได้เสด็จมานมัสการและร่วมสมโภชพระธาตุ

ด้วยเหตุนี้สิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดพระธาตุลำปางหลวงที่ปรากฏจึงเป็นงานช่างฝีมือหลวงที่ประณีตงดงามและมีอายุอยู่ในช่วงเวลาที่ล้านนารุ่งเรือง
วัดพระธาตุลำปางหลวงไม่เคยร้าง เพราะมีชุมชนลำปางหลวง ซึ่งเป็นข้าวัดมาตั้งแต่โบราณปฏิบัติดูแลรักษา ก่อนหน้านี้วัดแห่งนี้อยู่ในชนบทและยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก มีการบูรณะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า จึงรักษาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมไว้ได้
แต่ปัจจุบันวัดพระธาตุลำปางหลวงได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีผู้คนรู้จักและมีฐานะร่ำรวยขึ้น การบูรณะเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มมีมากขึ้น
เป้าประสงค์ของการเสนอเรื่องราวนี้เพื่อที่แวดวงวิชาการจะได้รับรู้และทราบถึงคุณค่าความสำคัญของแหล่งรวมศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนายุคทองที่เหลืออยู่แห่งนี้
และเพื่อที่ชาวนครลำปางและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ระมัดระวังรอบคอบในการบูรณะปฏิสังขรณ์ใดๆ ที่จะไม่ทำลายและรักษาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ไว้ให้นานที่สุด.
วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมา ตั้งแต่สมัย พระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลายเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่ มากมายพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ คนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภาย นอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์ แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและ พระอัฐิธาตุ จากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่ หนานทิพย์ ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะกา รีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะ อ้ายกอนเกิดความเลื่อมใสได้นำน้ำผึ้ง บรรจุ กระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ ได้ฉันน้ำผึ้ง แล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะ นคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะ อ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน)รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาได้มี กษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงาม อย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครอง นครและเกิดความ วุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครอง อาณาจักร ล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร อยู่ภายใต้การปกครองของ กษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุ ลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษ ของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตก พ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้ว ทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน
  1. ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลาย ปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง
  2. วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตาม แบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสี โบราณเรื่องชาดก
  3. องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ล้านนาผสมเจดีย์ทรงลังกา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัวมาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ ขนาดใหญ่ หุ้มด้วย แผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือที่เรียกว่าทองจังโก ตามตำนานกล่าวว่า เป็นบรรจุพระบรมสารีริก ธาตุวิหารน้ำแต้มเป็นวิหาร บริวารตั้ง อยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารเครื่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปร่าง และสัดส่วนงดงาม ภายในคอสองมีภาพเขียนสี โบราณ ที่เก่าแก่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด ขนาดหน้าตัก กว้าง 45 นิ้ว
  4. วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบัน เป็นลายดอกไม้ติด กระจกสีภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
  5. วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลัง หนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดานกำแพงด้าน พระประธาน เขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกัน ว่าเก่าแก่ที่สุดและหลง เหลือเพียงแห่งเดียว ในเมืองไทย อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร
  6. ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุ และพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น
  7. กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว
  8. วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของ พระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้
  9. พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น

นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วดอนเต้า” (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่ เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการ พระแก้ว ดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.